วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

ภูเขาหิมะ ประเทศไทย อันตราย! แต่มีประโยชน์อะไรได้บ้าง

จากกรณี ที่เผยแพร่ ใน Social " ไม่ต้องไปไกลถึงญี่ปุ่น ก็ดูเขาหิมะที่ไทยได้" 

ทำให้นึกถึงงานวิจัยที่ได้ทำเกี่ยวข้องกับ ภูเขาหิมะในบริเวณนี้

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ ภูเขาหิมะกันหน่อยนะครับ   ว่ามันคืออะไรกันแน่
ที่เห็นเป็นภูเขาสีขาว ๆ จริง ๆ แล้ว คือ กองหินฝุ่นขนาดมหึมานั้นเองครับ
หินฝุ่น???  เออ  มันคืออะไร  อ๋อ ก็ต้องอธิบายได้ดังนี้ครับ

ในงานก่อสร้างต้องการใช้หินเป็นส่วนประกอบ ไม่ว่าจะทำถนน  ทำคอนกรีต ฯลฯ
ดังนั้น เราจึงนิยม ที่จะระเบิดภูเขา เพื่อให้ได้หินออกมาใช้งาน

สำหรับกระบวนการระเบิดหินนั้น ก็เริ่มจาก เจาะ  ระเบิด ขุดตัก โม่ แยกขนาด  ตามลำดับ
จากการโม่ และแยกขนาดนี้เองทำให้เกิดหินขนาดต่าง ๆ เช่น  หิน3/4,  หิน1/2 , หินเกล็ด, หินคลุก, หินฝุ่น ดังแสดงในรูป
รูปแสดงหินขนาดต่าง ๆ (ศุภชัย, 2553)

อ้างนั้นไงมาแล้วครับหินฝุ่น

ในส่วนหิน 1 นิ้ว,  3/4นิ้ว, หินเกล็ด  มักจะใช้ในงานคอนกรีต  ทำให้หินในส่วนนี้ผลิตออกมาได้ ก็จะถูกใช้ไปจนหมด

สำหรับหินคลุก เป็นหินที่มีดิน ปนมาด้วย    จะไม่ถูกใช้ในงานคอนกรีต  แต่จะใช้ในงานถนน (รองพื้นทาง)

ในส่วนของหินฝุ่น อาจใช้ในงานของชั้นโครงสร้างถนนได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน การใช้งานก็ยังน้อยกว่า  ปริมาณที่ผลิตได้

หินฝุ่นจึงกลายเป็นสิ่งเหลือใช้  ดูเหมือนจะกลายเป็นขยะไปอีกด้วย
 หินฝุ่นในถาด (ในห้อง lab)
หินฝุ่นที่กองอยู่ ในโรงโม่แห่งหนึ่ง

จะทำยังไงกันดีหล่ะครับที่นี้  หินฝุ่นเหลือกองเป็นภูเขาหิมะเลย

--- ใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวดีไหมครับ ???
คำตอบจากผมก็คือ  คงไม่เหมาะนะครับ  เนื่องด้วยฝุ่นหินนี้เป็นฝุ่นละเอียด ซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า เป็นมลภาวะ และเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
อย่างไรก็ตามถ้าอยากมาทัศนะศึกษา ผมแนะนำให้ ขออนุญาต ผู้เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแต่ตัวให้ trendy เหมือนทางนายแบบของผม


นี่คือการแต่งตัวที่ล้ำสมัย และให้เกียรติ์กับสถานที่ 
(นายแบบในสังกัดผมเองครับสนใจติดต่อนายแบบบอกได้ครับ)

ประเด็นสถานที่ท่องเที่ยวคงลดลงเหลือแต่ นิสิตในสาขาที่เกี่ยวข้อง

มาประเด็นต่อไป

คงต้องนำหินฝุ่นไปใช้อะไรสักอย่าง   ถ้ามันมีข้อดี  คงมีคนนำไปใช้
คิดได้ดังนั้น  จึงได้มีงานวิจัยหลายรายการเพื่อ หาวิธีนำไปใช้ โดยเนื่องจากคุ้ยเคยกับงานก่อสร้าง
จึงได้นำหินฝุ่นไปผสมในคอนกรีต
ฟังดูไม่เห็นจะมีอะไรแปลก  ก็ผสม ๆ เข้าไปก็เป็นคอนกรีตเองหล่ะครับ    แต่มันคงไม่ง่ายอย่างที่คิด
ถ้ามีง่ายอย่างที่คิด  คงไม่เหลือเป็นภูเขาหิมะ แบบนี้ !

จากนั้นจึงได้มีการศึกษา  
1. คุณสมบัติของหินฝุ่นเชิงกายภาพ และเคมี http://www.scientific.net/AMR.974.350
2. การนำไปผสมโดยตรงในคอนกรีต แบบบ้าน ๆ (คอนกรีตกำลังปกติ)  ใน  “Utilization of Quarry Wastes as Fine Aggregate for Green Concrete”
3. การนำไปผสมในปูนฉาบ http://www.hkiceas.org/upload/editorfiles/201311/20131125191920788.pdf
4. การนำไปใช้ในคอนกรีตพิเศษ (self compacting concrete) http://ir.swu.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/2906/PRO1783.pdf?sequence=1
5. การเพิ่มความต้านทานต่อการซึม โดยใช้หินฝุ่น http://www.scientific.net/AMR.875-877.619
6. การนำไปใช้กับบ้านบล็อกประสานhttp://www.scientific.net/AMR.1030-1032.2348
7. การศึกษาคุณสมบัติของจีโอโพลิเมอร์มอร์ตาร์โดยใช้มวลรวมละเอียดจากหินฝุ่นเพื่อใช้เป็นวัสดุซ่อม

จากผลการศึกษาพบว่า  หินฝุ่น สามารถนำมาใช้ได้ในทุกงานที่ทำ โดยมีข้อความระวังและการเทคนิควิธีการปรับปรุงคุณภาพอยู่บ้าง เพื่อเป็นอีกทางเลือกของงานใช้งานภูเขาหิมะนะครับ
อ่านบทความทางวิชาการได้จาก link นะครับ


หากม่ีการเผยแพร่ งานวิจัยออกไป  อาจทำให้ภูเขาหิมะนี้มีประโยชน์ ขึ้นมาอีกครั้งก็ได้