วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พื้นที่แตกจากแรงดันน้ำ ภาคการซ่อมแซม

          มีคนรู้จักหลาย ๆ คน  เห็นพื้นแตกจากแรงดันน้ำ แล้วเล่าให้ผมฟังว่า  สงสัยช่างทำพื้นบ้าง ช่างปูระเบื้องบ้าง ที่ทำงานคอนกรีตพื้นไว้ไม่ดี ทำให้พื้นแตกร้าว  ผมจึงเล่าให้ฟังว่า บ้านพักอาศัย ออกแบบรับแรงกันเพียง 150 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เท่านั้น แต่แรงดันน้ำที่สูง 1 เมตร มีแรงดันตั้ง 1 ตัน ต่อตารางเมตรเลยนะครับ (จริง ๆ ยังไม่พอ มันยังดันกลับด้านที่ออกแบบไว้อีกต่างหาก  หากอยากทราบรายละเอียดให้กลับไปอ่านบทความเก่านะครับ)

        ช่างมันก่อนเถอะครับ ภาคนี้ผมจะมาอธิบายถึง อาการที่พื้นพังเสียหาย  และต้องซ่อมอย่างไร และสำหรับข้อดี ข้อเสียของวิธีการซ่อมแบบต่าง ๆ     เพราะแน่นอน  ถ้าท่านได้ผู้รับเหมาซ่อม หลายคน จะบอกวิธีต่าง ๆ นานา  ซึ่งอาจไม่เหมือนกัน  และต่างยืนยันว่า "ซ่อมได้แข็งแรงแน่นอนครับ" มันจะจริงหมด ครบถ้วนหรือไม่ ? อย่างไร ?



เริ่มเลยมาดูมามันพังอย่างไรนะครับ จะได้ซ่อมได้ถูกจุด
ดูรูปจากหนังสือคอนกรีตเสริมเหล็กของศ.ดร.วินิตนะครับ

(ที่มาของรูป: วินิต, 2554)
        พฤติกรรมพื้นบ้าน  ก็คล้าย ๆ กันคานนะครับ สั้น ๆ คาดว่า พื้นที่น้ำทะลุ น่าจะอยู่ในสภาวะ ในรูป ค
ดังนั้นซ๋อมได้เลยครับ

(แล้วจะมา update ให้ละเอียด ต่อนะครับ)

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ดูความแข็งแรงของโครงสร้างบ้านของเรา ................รออีกนิดครับแล้วจะมาเขียนต่อให้ พร้อมรูปถ่ายจากตัวอย่างจากที่ต่าง ๆ ครับ

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หัดทำฝายชะลอน้ำกันใหญ่ เลยครับ

หลักการทำฝายชะลอน้ำ (หรือที่เคยเรียกว่าฝายแม้ว)
คำอธิบายเพิ่มเติม ขนาดของฝายชะลอน้ำ เป็นฝายเล็กๆ ที่ว่าฝายมันเล็ก ก็คือเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำแล้ว อย่างไรเสียน้ำก็จะข้ามฝายอยู่ดี ดังนั้นในการสร้างต้องประเมินปริมาณน้ำ อัตราการไหลของน้ำ และขนาดฝายก่อนครับ อาจกะ ๆ เอา หรือ คำนวณก็ได้ครับ แล้วแต่ความยากง่าย


ขอบคุณรูปจาก facebook.com/mycomicbook

-ฝายชะลอน้ำสร้างที่ไหน?
ก็สร้างขวางทางน้ำไว้ครับ เช่น ร่องน้ำครับ  หรือพูดง่าย ๆ ว่า น้ำอยากไหลไปทางไหน เราก็ไปกั้นไว้ครับ และจะกั้นเป็นระยะ ๆ
-เรียกฝายชะลอน้ำ ก็แปลว่ากั้นน้ำไม่ได้ใช่ไหม?
ก็ทำนองนั้นครับ ทำได้เพียงชะลอ ในที่สุดน้ำก็ต้องไปทิศทางที่ต่ำเสมอ แต่จะช้าหน่อย แล้วก็ระยะเวลาจากต้นน้ำถึงทะเล แม่น้ำ ก็จะช้า
-แล้วจะทำไปทำไม?
ก็ทำเพื่อให้น้ำขณะที่น้อยอยู่ ไม่ข้ามฝายไป แต่จะเอ่อท่วม กระจายไปทางด้านเหนือฝาย ให้ได้รับความชุ่มฉ่ำไปทั่ว
-แล้วทำไม่ต้องสร้างฝายเป็นระยะ ๆ ตามทางน้ำ?
ก็ทำเพื่อให้ได้รับความชุ่มฉ่ำไปทั่ว ๆ  หลักจากฝายแรกน้ำข้ามได้แล้ว ก็จะมาถึงหน้าที่ฝายที่สอง เหนือฝายที่สอง น้ำก็จะแผ่ไป ให้ได้รับความชุ่มฉ่ำต่อไป  และ ฝายที่สามก็จะทำหน้าที่ลักษณะนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะออกทะเล สู่ลำคลอง
-ฝายชะลอน้ำ เค้าต้องมีชื่อเหมือนเขื่อนไหม?
ปกติผมก็ไม่ค่อยจะเห็นมีชื่อฝายชะลอน้ำนะครับเพราะมันก็เป็นฝายเล็ก ๆ  แต่ถ้ามันใหญ่ ๆ และสำคัญสักหน่อย ผมก็ชอบที่จะตั้งชื่อ เช่น ฝายแรกอาจชื่อพะหลโยทิน, ฝายที่สอง ชื่อ ละพีพัด, ฝายที่สามชื่อ รังสิตประยูร, ฝายที่สี่ชื่อ หกว้า, ฝายที่ห้า เออไม่รู้จะตั้งชื่ออะไรดีครับ   แต่ที่จริงก็ยังมีชื่อที่ชอบๆ อยู่ ก็ มหาสะวัด, ทวีวัด ฯลฯ   พอดีกว่าครับ ให้คนอื่นมาช่วยกันตั้งชื่อบ้างครับ ไร้สาระ แต่ก็สนุกดี
-ใช้วัสดุอะไรสร้าง?
ก็อาจเป็นอะไรก็ได้ครับที่มี เช่น คอนกรีต คันดิน หิน กระสอบทราย ไม้ไผ่ ฯลฯ ก็แล้วแต่ว่าต้องการความทนทานขนาดไหน เพราะต้องการให้น้ำผ่านได้อยู่แล้ว
-ฝายชะลอน้ำมีประโยชน์ อย่างไร?
ก็ทำให้น้ำไหลได้ช้า พื้นที่ได้รับความชุ่มฉ่ำกันทั่ว ๆ เหมาะสมมากๆ ครับสำหรับพื้นที่ ที่ต้องการแบ่งปันความชุ่มฉ่ำ
-ถ้าไม่มีฝายชะลอน้ำจะเป็นอย่างไร?
น้ำก็จะรีบ ๆ ไหลลงสู่ที่ต่ำ ถ้ามีน้ำน้อย น้ำก็จะอยู่แค่ในลำน้ำ  ถ้ามีน้ำมาก น้ำก็จะแผ่ขยายออกมารอบ ๆ ลำน้ำและที่ต่ำ แต่อย่างไรก็ตามการแผ่ ก็คงจะสู้มีฝายชะลอน้ำไม่ได้
-ถ้าเคยมีฝายชะลอน้ำ แล้วพังเวลาน้ำมา มากๆ จะเป็นอย่างไร?
ตอนแรกที่ฝายยังไม่พัง น้ำก็จะช่วย ๆ แผ่ ไปทางข้าง ด้านเหนือฝาย และเพิ่มระดับน้ำ(ทดระดับน้ำให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ) ไปพร้อม ๆ กัน หากน้ำมา มากจนฝายทนไม่ไหว ฝายก็พัง น้ำที่ไหลลงสู่ใต้ฝาย ก็จะแรงกว่า  ที่จะปล่อยให้ไหลแบบไม่มีฝายเสียอีก
-ถ้าปีนั้น ๆ หรือขณะนั้น มีความชุ่มฉ่ำแล้ว ไม่อยากให้ฝายกระจายความชุ่มฉ่ำ ต้องทำอย่างไร?
ก็อย่าทำฝายสิครับ   ถ้ามีฝายอยู่ ก็เปิดมันออก  น้องน้ำจะได้ไปเร็ว ๆ
-ฝายชะลอน้ำ กับ แนวกระสอบทรายและประตูน้ำ เหมือนกันไหมครับ????
ไม่ขอตอบครับ !!! ไม่มีความรู้ด้านนี้โดยตรงจริง ๆ ครับ

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ศุภชัย กับ น้ำพุ ในบ้านเมื่อน้ำท่วม ที่ออกข่าว ด้วยภาษาที่ง่ายขึ้น

                    หลังจากที่ผมได้ให้คำสัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องแรงดันน้ำ ซึ่งได้เขียนใน Blog นี้ เพื่อเตือนเพื่อน ๆ ที่จบโยธา (กลัวว่าจะกั้นน้ำกันจนลืมนึก ถึงแรงดัน และการออกแบบพื้นบ้าน) หลังจากนั้นเพียงวันเดียว ผมก็ต้องประหลาดใจ เมื่อเพื่อน ๆ โทรมาบอกว่ามีข่าว ลงเรื่องนี้จำนวนมากพอสมควร ทั้งหนังสือพิมพ์ รายการข่าว เว็ปไซค์ ต่าง  แต่ที่เป็นประเด็นก็คือ เพื่อน ๆ ที่โทรมา  หากเป็นเพื่อนที่จบโยธา ก็เข้าใจได้ไม่อยากนัก ในเรื่องแรงดันน้ำ แรงลอยตัว อย่างไรก็ตามมีเพื่อน ๆ ที่เรียนจบจากสาขาอื่น ๆ ทั้งวิทย์ ทั้งศิลป์ บอกไม่ค่อยจะเข้าใจ และไม่เข้าใจเลยอีกจำนวนมาก (มากกว่าคนที่เข้าใจ)  สิ่งที่ผมต้องการจะบอก จริง ๆ มันก็สั้น ๆ ครับ ว่า "ก่ออิฐกั้นหน้าบ้านสูง ๆ พื้นบ้านอาจทะลุได้" ฟังดูมันก็งง ๆ ใช่ไหมหล่ะครับ ไม่เห็นเกี่ยวกันเลย  ก่ออิฐหน้าบ้าน   ทำไมพื้นในบ้านน้ำก็ไม่ท่วมจะมาทะลุ ??? อ่านต่อเลยครับว่าทำไม
                   ดังนั้นผมจึงได้เขียนเรื่องราว "ศุภชัย กับ น้ำพุ ในบ้าน เมื่อน้ำท่วม" เพื่ออธิบายสิ่งที่อยากจะเตือน ผู้คนอีกจำนวนมาก ซึ่ง กำลังจะพบกับน้ำท่วม (ขณะที่เขียนนี้ ก็ได้ยินข่าวว่าน้ำไปถึง รามอินทรา รัชโยธิน แล้ว จึงต้องเร่ง บอกต่อ ต่อไป  เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างของพื้นบ้าน ด้วยเหตุแห่งความเร่งด่วน จึงขออภัยสำหรับรูปภาพที่วาดรีบ ๆ ไม่สวยงาม เพียงเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ)
                  ในบทความนี้ ในลำดับแรก ผมขออธิบายแรงลอยตัวนะครับ ให้ทุกท่านนึกถึงขันตักน้ำ ที่ลอยอยู่ในโอ่ง เมื่อท่านใช้มือกดขันลงไปตรง ๆ แต่ไม่ให้ขันจม จะรู้สึกได้เลยว่ามีแรงต้านมือ ขึ้นมา อันนี้แหล่ะครับ แรงลอยตัว ต่อมามันเกี่ยวกับบ้านได้อย่างไร    ก็ในเมื่อบ้านของท่านมีน้ำมารอบ ๆ บ้าน และบ้าน ก็ได้มีการป้องกันน้ำจากการก่ออิฐ  บ้านที่อยู่ในน้ำ  ก็เหมือน ๆ ขันอยู่ในโอ่ง น้ำดันขันในลอยขึ้น ก็ เหมือน  บ้านถูกน้ำรอบ ๆ ที่ระดับสูงกว่าพื้นภายในบ้าน ดันลอยเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงบ้านไม่ลอย หรอกครับ เพียงแต่จะมีแรงดัน กระทำที่พื้นบ้านด้านล่าง เช่นเดียวกับ พื้นของขัน แรงดันมันจะมากขึ้นตามระยะที่เรากดขันในลงไป

                   เรื่องที่สองผมต้องขออธิบาย ว่าพื้นบ้านพักอาศัยปกติ ไม่ได้ออกแบบเพื่อป้องกันแรงดันน้ำ (แรงลอยตัว) ซึ่งมีลักษณะ ดันพื้นบ้านจากด้านล่าง ซึ่งมันกลับทางกับแรงปกติ (ปกติจะออกแบบไว้รับน้ำหนักสิ่งของเครื่องใช้ ผู้คน ซึ่งแรงจะกดลงที่พื้นจากด้านบน ตามแรงโน้มถ่วงของโลก) ดังนั้นพื้นบ้านที่ดูแข็งแรงของท่าน จะแตกร้าวเสียหายได้ง่ายมาก ๆ จากแรงลอยตัว (เรื่องการวิเคราะห์โครงสร้าง นี้วิศวกรโครงสร้างสามารถคำนวณได้ครับ ผมจึงทราบได้ว่าพังง่ายเอามาก ๆ)

หลังจากพอเข้าใจเรื่องแรงลอยตัวและ การออกแบบพื้นบ้านโดยปกติแล้ว ผมก็จะมีคำแนะนำดังต่อไปนี้ครับ

  
รูปแรก และสอง ครับ เป็นกรณีที่น้ำ ท่วมไม่มาก ไม่สูง การก่ออิฐบล็อกในระดับ ไม่เกิน 2 ก้อน (ระดับความสูงของน้ำไม่เกิน 40 ซม. การป้องกันน้ำในระดับนี้ ไม่น่าจะมีปัญหาครับ ถึงแม้ว่าจะมีแรงดันน้ำ(แรงลอยตัว) แต่แรงนี้ก็ยังไม่มากพอที่จะทำลายพื้นบ้านได้ เนื่องจาก มีน้ำหนักของตัวพื้นคอนกรีตเองกดและดันน้ำอยู่ สบายใจได้ครับ ในรูปจะเป็นว่าใต้พื้นบ้านเองต้องรับกับแรงดันน้ำเท่ากับ ระดับน้ำภายนอกบ้าน ในรูปแสดงไว้ 30 ซม. (เท่ากับระดับน้ำภายนอก 30 ซม.) ระดับนี้ถึงว่า เป็นระดับไม่ต้องห่วงอะไร ไม่น่ามีการแตกของพื้นจากแรงลอยตัว ผมให้เรียกว่าระดับ Beginner
ต่

สำหรับรูปที่ 3  เป็นรูปที่ระดับน้ำภายนอกสูงขึ้นถึงระดับที่ต้องใช้อิฐบล็อกสูง 3-4 ก้อนครับ ในความสูงระดับนี้ (50-80 ซม.) แรงดันน้ำที่ดันขึ้น มีมากกว่าน้ำหนักของตัวพื้นคอนกรีตเอง ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดการแตกร้าวของพื้น และทำให้น้ำผุดขึ้นกลางพื้นบ้าน (น้ำพุ) อย่างไรก็ตาม  ในระดับน้ำขนาดนี้   ก็พอมีวิธีการลดความเสี่ยงของการแตกร้าวของพื้นจากแรงลอยตัวได้ครับ โดยทำตามรูปที่ 4

รูปที่ 4 เป็นการใส่น้ำหนักลงไปที่กลางพื้นบ้านนะครับ เพื่อให้แรงจากน้ำหนัก หักล้างกับแรงลอยตัว โดยวิธีวางน้ำหนัก ให้วางกลาง ๆ พื้นเข้าไว้ครับ ดังแสดงในรูปที่ 5 ในระดับนี้ผมตั้งชื่อให้ว่า ระดับ Intermediate

ในระดับต่อไป เป็นระดับที่กั้นน้ำอย่างเดียวมีโอกาสสูงมากๆ ที่จะมีการแตกของพื้นบ้านและมีน้ำพุส่วนตัว (รูปที่ 6) ผมให้ชื่อว่าระดับ Advance เนื่องจากไม่ง่ายนะครับที่จะทำ เนื่องจากต้องใช้เครื่องปั้มน้ำ คอยปิด-เปิด ปั้ม ดูการรั่วซึม ซึ่งเกิดได้ง่ายแล้ว  แต่อย่างไรก็ตามจะบอกว่าไม่มีวิธีป้องกัน น้ำในระดับที่สูง เป็นเมตร ก็คงไม่ได้  วิธีนี้ต้องใช้วิธีผสมผสานนะครับทั้งวิธีวางน้ำหนัก และ ลดแรงดันน้ำจะการปั้มน้ำ

ในระดับนี้การวางน้ำหนัก อาจเพียงพอ หรือไม่ก็ได้นะครับ ดังนั้นอาจต้องหาน้ำหนักมาเพิ่ม ซึ่งบ้านคนน้ำจะท่วม คงไม่หากันได้ง่าย ๆ เพราะต้องหาถึง 100 กก. ต่อ พื้นที่ของห้องนั้นๆ 1 ตารางเมตร ต่อความสูงของน้ำทุก ๆ 10 ซม. ที่ขึ้นเกิน 50 ซม.มาแล้ว ดังแสดงในรูปที่ 7 ยกตัวอย่างนะครับ  สมมติว่า ห้องขนาด 3x3 ม. (9 ตร.ม.) น้ำด้านนอกสูง 60 ซม.  จะต้องใส่น้ำหนักประมาณ 100 x 9 x (60-50)/10 =900กก.  หาไม่ได้ง่าย ๆ แน่ครับ (จริงๆ ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำหนักเท่านี้ครับน้อยกว่านี้ก็ได้) แต่วิธีนี้ก็เป็นปัญหาอยู่ดี ถ้าน้ำลด ไม่มีแรงดันน้ำ ต้องรีบมาเอาน้ำหนักที่มาวางไว้ออกอีก เพราะจะน้ำหนักเกินเวลาน้ำลดนะครับ (ยุ่งจริง ไม่รู้จะทำได้จริงไหม??)


วิธีที่ได้ผลจริง ๆ จึงต้องเป็นวิธี กั้นน้ำบริเวณรั้ว แล้วสูบน้ำออก  เพื่อลดแรงดันน้ำครับ ดังแสดงในรูปที่ 8   วิธีนี้จึงจำกัด ทำได้เฉพาะบ้านที่มีบริเวณรอบบ้านทุกด้านเท่านั้น การสูบน้ำออก จะทำให้แรงดันน้ำลดลงครับ โดยน้ำร่องน้ำเล็ก ๆ และมีความลาดเอียงเข้าหาหลุม ที่เราเตรียมได้สูบน้ำออกครับ วิธีนี้ไม่ง่าย เลย อย่างไรก็ตาม หากบ้านของท่านมีรั้วที่มั่นคง น้ำไม่ซึมเข้า มีท่อระบายรอบ ๆ บริเวณบ้าน วิธีนี้ก็เหมาะครับ หากท่าน ทำการอุดท่อระบายน้ำ ระหว่างด้านในรั้วและนอกรั้วไม่ให้น้ำผ่านได้ มีเวลาปิด-เปิด ปั้มน้ำ (หรือใช้ระบบลูกลอย)   วิธีนี้สามารถใช้ได้ดีนะครับสำหรับการทำทั้งหมู่บ้าน และสำหรับบ้านเดี่ยว แต่ บ้านเดี่ยวหลังเดียวทำได้ก็จริง แต่เหนื่อยครับ



 สรุปก็คือ
A - สำหรับกรณีที่จะกั้นน้ำที่ง่ายที่สุด ผมขอแนะนำให้กั้นน้ำ โดยใช้ความสูงเท่ากับ อิฐบล็อก 2 ก้อน (20 x 2 = 40ซม.) อาจเป็นที่บริเวณ หน้าประตูบ้าน ก็เพียงพอแล้ว หากน้ำภายนอก สูงเกิน 40 ซม. ก็ให้ยอมรับและ ยอมให้น้ำไหลท่วมภายในบ้าน       เนื่องจากด้วยความสูงของน้ำระดับ 40 ซม.นี้ พื้นบ้านของท่านควรจะรับแรงดันน้ำนี้ได้ ไม่แตกร้าว    แต่หากท่านกั้นน้ำโดยก่ออิฐบล็อกเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ พื้นบ้านก็แตก น้ำก็ผุด เนื่องจากทนแรงดันน้ำไม่ได้ ผลที่ได้รับ ก็คือ น้ำก็ท่วม ยังไม่พอ พื้นบ้านยังแตกเสียหายเพิ่มอีกด้วย

B - สำหรับกรณีต่อไป สำหรับท่านที่รับความเสี่ยงได้มากขึ้น  ความเสี่ยงนั้นก็คือ การแตกร้าวของพื้นบ้าน และน้ำอาจผุดขึ้นกลางบ้าน (น้ำพุ) ในกรณีนี้ ก็เป็นระดับที่ ก่อ กำแพงกั้นน้ำ ที่ระดับความสูงของอิฐบล็อก 3 - 4 ก้อน ด้วยความสูงในระดับ 60 - 80 ซม. นี้ จากการคำนวณโครงสร้างพบว่ามีความเสี่ยงที่จะ เกิดการแตกร้าวของพื้นบ้าน และน้ำจะผุดขึ้นในบ้าน ซึ่งในบ้านของแต่ละท่าน อาจมีความทนทานได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ การก่อสร้างและคุณภาพของคอนกรีต อย่างไรก็ตาม หากต้องการที่จะกั้นน้ำในระดับความสูง 60 - 80 ซม. มีวิธีที่ลดความเสี่ยงในการแตกร้าวของพื้นบ้านได้ โดย น้ำสิ่งของที่มีน้ำหนัก มาวางไว้ ในตำแหน่งกึงกลางของแผ่นพื้น เพื่อกดพื้นบ้านให้แอ่นตัวลงไปด้านล่าง เพื่อต้านกับแรงลอยตัวจากน้ำที่ดันพื้นให้แอ่นขึ้นมา

C - สำหรับกรณีที่น้ำภายนอกบ้านสูงมากกว่าพื้นบ้าน มากกว่า 80 ซม. แล้ว (ในการก่ออิฐบล็อก ที่ความสูงมากกว่า 4 ก้อน เป็นต้นไป) ในกรณีนี้ มีความเสี่ยงสูงมาก ๆ ที่ พื้นของบ้านพักอาศัย จะแตกร้าว และมีน้ำผุดขึ้นมา ค่อนข้างแน่นอน ในกรณีนี้ ไม่ใช่ว่าจะไม่มีวิธีที่ป้องกันได้ แต่วิธีการป้องกัน ออกจะยุ่งยากพอสมควร คือ
- ใช้การวางน้ำหนักต่าง ๆ ลงที่พื้น เพื่อดันพื้นให้แอ่นลงด้านล่างตามแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อหักล้างกับแรงดันน้ำ(แรงลอยตัว) ซึ่งดันขึ้นด้านบน เหมือน กรณี 40 - 60 ซม. (กรณี B)

- ใช้การขุดร่องน้ำ รอบ ๆ บ้าน พร้อมทั้งมีเครื่องสูบน้ำออกไปภายนอกรั้ว และกั้น แนวกันน้ำบริเวณรั้ว (ใช้ได้เฉพาะกรณีบ้านเดียว เท่านั้น ทาวเฮ้าส์ ใช้ไม่ได้เนื่องจากไม่มีพื้นที่สนามรอบบ้าน)  ด้วยวิธีนี้จะทำให้แรงดันน้ำบริเวณใต้พื้นบ้านลดลงได้ และเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับหมู่บ้าน มากกว่าบ้านเดียวๆคนเดียวทำครับ

สรุปอีกที "ก่ออิฐสูง ๆ ไว้ เวลาน้ำมาจริงๆ น้ำมาสูง จริง ๆ น้ำไม่อาจเข้าบ้านตรงที่ก่ออิฐกันไว้อย่างดี แต่จะดันพื้นบ้านแตกจากด้านล่าง แล้วน้ำจะเข้ามาในบ้าน แบบน้ำพุส่วนตัวเลยครับ"



เพิ่มเติมนะครับเป็นคำถามจากเพื่อน ๆ คนรู้จัก Q&A
Q โดยน้องโสม: ไม่ได้ใช้อิฐบล็อกกั้นน้ำ  ใช้กระสอบทราย จะดีกว่าไหม?
A โดยศุภชัย: จะใช้วัสดุใด ๆ ก็ตาม กระสอบทราย อิฐ ฯลฯ ที่กั้นน้ำได้ ก็ทำให้แรงดันน้ำเกิดทุกกรณีครับ หมายความว่า ถ้ากั้นน้ำได้ แรงดันก็จะเกิดตามระดับน้ำที่เราไปกั้นไว้ครับ

โดย ศุภชัย สินถาวร