วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พื้นที่แตกจากแรงดันน้ำ ภาคการซ่อมแซม

          มีคนรู้จักหลาย ๆ คน  เห็นพื้นแตกจากแรงดันน้ำ แล้วเล่าให้ผมฟังว่า  สงสัยช่างทำพื้นบ้าง ช่างปูระเบื้องบ้าง ที่ทำงานคอนกรีตพื้นไว้ไม่ดี ทำให้พื้นแตกร้าว  ผมจึงเล่าให้ฟังว่า บ้านพักอาศัย ออกแบบรับแรงกันเพียง 150 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เท่านั้น แต่แรงดันน้ำที่สูง 1 เมตร มีแรงดันตั้ง 1 ตัน ต่อตารางเมตรเลยนะครับ (จริง ๆ ยังไม่พอ มันยังดันกลับด้านที่ออกแบบไว้อีกต่างหาก  หากอยากทราบรายละเอียดให้กลับไปอ่านบทความเก่านะครับ)

        ช่างมันก่อนเถอะครับ ภาคนี้ผมจะมาอธิบายถึง อาการที่พื้นพังเสียหาย  และต้องซ่อมอย่างไร และสำหรับข้อดี ข้อเสียของวิธีการซ่อมแบบต่าง ๆ     เพราะแน่นอน  ถ้าท่านได้ผู้รับเหมาซ่อม หลายคน จะบอกวิธีต่าง ๆ นานา  ซึ่งอาจไม่เหมือนกัน  และต่างยืนยันว่า "ซ่อมได้แข็งแรงแน่นอนครับ" มันจะจริงหมด ครบถ้วนหรือไม่ ? อย่างไร ?



เริ่มเลยมาดูมามันพังอย่างไรนะครับ จะได้ซ่อมได้ถูกจุด
ดูรูปจากหนังสือคอนกรีตเสริมเหล็กของศ.ดร.วินิตนะครับ

(ที่มาของรูป: วินิต, 2554)
        พฤติกรรมพื้นบ้าน  ก็คล้าย ๆ กันคานนะครับ สั้น ๆ คาดว่า พื้นที่น้ำทะลุ น่าจะอยู่ในสภาวะ ในรูป ค
ดังนั้นซ๋อมได้เลยครับ

(แล้วจะมา update ให้ละเอียด ต่อนะครับ)

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ดูความแข็งแรงของโครงสร้างบ้านของเรา ................รออีกนิดครับแล้วจะมาเขียนต่อให้ พร้อมรูปถ่ายจากตัวอย่างจากที่ต่าง ๆ ครับ

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หัดทำฝายชะลอน้ำกันใหญ่ เลยครับ

หลักการทำฝายชะลอน้ำ (หรือที่เคยเรียกว่าฝายแม้ว)
คำอธิบายเพิ่มเติม ขนาดของฝายชะลอน้ำ เป็นฝายเล็กๆ ที่ว่าฝายมันเล็ก ก็คือเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำแล้ว อย่างไรเสียน้ำก็จะข้ามฝายอยู่ดี ดังนั้นในการสร้างต้องประเมินปริมาณน้ำ อัตราการไหลของน้ำ และขนาดฝายก่อนครับ อาจกะ ๆ เอา หรือ คำนวณก็ได้ครับ แล้วแต่ความยากง่าย


ขอบคุณรูปจาก facebook.com/mycomicbook

-ฝายชะลอน้ำสร้างที่ไหน?
ก็สร้างขวางทางน้ำไว้ครับ เช่น ร่องน้ำครับ  หรือพูดง่าย ๆ ว่า น้ำอยากไหลไปทางไหน เราก็ไปกั้นไว้ครับ และจะกั้นเป็นระยะ ๆ
-เรียกฝายชะลอน้ำ ก็แปลว่ากั้นน้ำไม่ได้ใช่ไหม?
ก็ทำนองนั้นครับ ทำได้เพียงชะลอ ในที่สุดน้ำก็ต้องไปทิศทางที่ต่ำเสมอ แต่จะช้าหน่อย แล้วก็ระยะเวลาจากต้นน้ำถึงทะเล แม่น้ำ ก็จะช้า
-แล้วจะทำไปทำไม?
ก็ทำเพื่อให้น้ำขณะที่น้อยอยู่ ไม่ข้ามฝายไป แต่จะเอ่อท่วม กระจายไปทางด้านเหนือฝาย ให้ได้รับความชุ่มฉ่ำไปทั่ว
-แล้วทำไม่ต้องสร้างฝายเป็นระยะ ๆ ตามทางน้ำ?
ก็ทำเพื่อให้ได้รับความชุ่มฉ่ำไปทั่ว ๆ  หลักจากฝายแรกน้ำข้ามได้แล้ว ก็จะมาถึงหน้าที่ฝายที่สอง เหนือฝายที่สอง น้ำก็จะแผ่ไป ให้ได้รับความชุ่มฉ่ำต่อไป  และ ฝายที่สามก็จะทำหน้าที่ลักษณะนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะออกทะเล สู่ลำคลอง
-ฝายชะลอน้ำ เค้าต้องมีชื่อเหมือนเขื่อนไหม?
ปกติผมก็ไม่ค่อยจะเห็นมีชื่อฝายชะลอน้ำนะครับเพราะมันก็เป็นฝายเล็ก ๆ  แต่ถ้ามันใหญ่ ๆ และสำคัญสักหน่อย ผมก็ชอบที่จะตั้งชื่อ เช่น ฝายแรกอาจชื่อพะหลโยทิน, ฝายที่สอง ชื่อ ละพีพัด, ฝายที่สามชื่อ รังสิตประยูร, ฝายที่สี่ชื่อ หกว้า, ฝายที่ห้า เออไม่รู้จะตั้งชื่ออะไรดีครับ   แต่ที่จริงก็ยังมีชื่อที่ชอบๆ อยู่ ก็ มหาสะวัด, ทวีวัด ฯลฯ   พอดีกว่าครับ ให้คนอื่นมาช่วยกันตั้งชื่อบ้างครับ ไร้สาระ แต่ก็สนุกดี
-ใช้วัสดุอะไรสร้าง?
ก็อาจเป็นอะไรก็ได้ครับที่มี เช่น คอนกรีต คันดิน หิน กระสอบทราย ไม้ไผ่ ฯลฯ ก็แล้วแต่ว่าต้องการความทนทานขนาดไหน เพราะต้องการให้น้ำผ่านได้อยู่แล้ว
-ฝายชะลอน้ำมีประโยชน์ อย่างไร?
ก็ทำให้น้ำไหลได้ช้า พื้นที่ได้รับความชุ่มฉ่ำกันทั่ว ๆ เหมาะสมมากๆ ครับสำหรับพื้นที่ ที่ต้องการแบ่งปันความชุ่มฉ่ำ
-ถ้าไม่มีฝายชะลอน้ำจะเป็นอย่างไร?
น้ำก็จะรีบ ๆ ไหลลงสู่ที่ต่ำ ถ้ามีน้ำน้อย น้ำก็จะอยู่แค่ในลำน้ำ  ถ้ามีน้ำมาก น้ำก็จะแผ่ขยายออกมารอบ ๆ ลำน้ำและที่ต่ำ แต่อย่างไรก็ตามการแผ่ ก็คงจะสู้มีฝายชะลอน้ำไม่ได้
-ถ้าเคยมีฝายชะลอน้ำ แล้วพังเวลาน้ำมา มากๆ จะเป็นอย่างไร?
ตอนแรกที่ฝายยังไม่พัง น้ำก็จะช่วย ๆ แผ่ ไปทางข้าง ด้านเหนือฝาย และเพิ่มระดับน้ำ(ทดระดับน้ำให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ) ไปพร้อม ๆ กัน หากน้ำมา มากจนฝายทนไม่ไหว ฝายก็พัง น้ำที่ไหลลงสู่ใต้ฝาย ก็จะแรงกว่า  ที่จะปล่อยให้ไหลแบบไม่มีฝายเสียอีก
-ถ้าปีนั้น ๆ หรือขณะนั้น มีความชุ่มฉ่ำแล้ว ไม่อยากให้ฝายกระจายความชุ่มฉ่ำ ต้องทำอย่างไร?
ก็อย่าทำฝายสิครับ   ถ้ามีฝายอยู่ ก็เปิดมันออก  น้องน้ำจะได้ไปเร็ว ๆ
-ฝายชะลอน้ำ กับ แนวกระสอบทรายและประตูน้ำ เหมือนกันไหมครับ????
ไม่ขอตอบครับ !!! ไม่มีความรู้ด้านนี้โดยตรงจริง ๆ ครับ

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ศุภชัย กับ น้ำพุ ในบ้านเมื่อน้ำท่วม ที่ออกข่าว ด้วยภาษาที่ง่ายขึ้น

                    หลังจากที่ผมได้ให้คำสัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องแรงดันน้ำ ซึ่งได้เขียนใน Blog นี้ เพื่อเตือนเพื่อน ๆ ที่จบโยธา (กลัวว่าจะกั้นน้ำกันจนลืมนึก ถึงแรงดัน และการออกแบบพื้นบ้าน) หลังจากนั้นเพียงวันเดียว ผมก็ต้องประหลาดใจ เมื่อเพื่อน ๆ โทรมาบอกว่ามีข่าว ลงเรื่องนี้จำนวนมากพอสมควร ทั้งหนังสือพิมพ์ รายการข่าว เว็ปไซค์ ต่าง  แต่ที่เป็นประเด็นก็คือ เพื่อน ๆ ที่โทรมา  หากเป็นเพื่อนที่จบโยธา ก็เข้าใจได้ไม่อยากนัก ในเรื่องแรงดันน้ำ แรงลอยตัว อย่างไรก็ตามมีเพื่อน ๆ ที่เรียนจบจากสาขาอื่น ๆ ทั้งวิทย์ ทั้งศิลป์ บอกไม่ค่อยจะเข้าใจ และไม่เข้าใจเลยอีกจำนวนมาก (มากกว่าคนที่เข้าใจ)  สิ่งที่ผมต้องการจะบอก จริง ๆ มันก็สั้น ๆ ครับ ว่า "ก่ออิฐกั้นหน้าบ้านสูง ๆ พื้นบ้านอาจทะลุได้" ฟังดูมันก็งง ๆ ใช่ไหมหล่ะครับ ไม่เห็นเกี่ยวกันเลย  ก่ออิฐหน้าบ้าน   ทำไมพื้นในบ้านน้ำก็ไม่ท่วมจะมาทะลุ ??? อ่านต่อเลยครับว่าทำไม
                   ดังนั้นผมจึงได้เขียนเรื่องราว "ศุภชัย กับ น้ำพุ ในบ้าน เมื่อน้ำท่วม" เพื่ออธิบายสิ่งที่อยากจะเตือน ผู้คนอีกจำนวนมาก ซึ่ง กำลังจะพบกับน้ำท่วม (ขณะที่เขียนนี้ ก็ได้ยินข่าวว่าน้ำไปถึง รามอินทรา รัชโยธิน แล้ว จึงต้องเร่ง บอกต่อ ต่อไป  เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างของพื้นบ้าน ด้วยเหตุแห่งความเร่งด่วน จึงขออภัยสำหรับรูปภาพที่วาดรีบ ๆ ไม่สวยงาม เพียงเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ)
                  ในบทความนี้ ในลำดับแรก ผมขออธิบายแรงลอยตัวนะครับ ให้ทุกท่านนึกถึงขันตักน้ำ ที่ลอยอยู่ในโอ่ง เมื่อท่านใช้มือกดขันลงไปตรง ๆ แต่ไม่ให้ขันจม จะรู้สึกได้เลยว่ามีแรงต้านมือ ขึ้นมา อันนี้แหล่ะครับ แรงลอยตัว ต่อมามันเกี่ยวกับบ้านได้อย่างไร    ก็ในเมื่อบ้านของท่านมีน้ำมารอบ ๆ บ้าน และบ้าน ก็ได้มีการป้องกันน้ำจากการก่ออิฐ  บ้านที่อยู่ในน้ำ  ก็เหมือน ๆ ขันอยู่ในโอ่ง น้ำดันขันในลอยขึ้น ก็ เหมือน  บ้านถูกน้ำรอบ ๆ ที่ระดับสูงกว่าพื้นภายในบ้าน ดันลอยเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงบ้านไม่ลอย หรอกครับ เพียงแต่จะมีแรงดัน กระทำที่พื้นบ้านด้านล่าง เช่นเดียวกับ พื้นของขัน แรงดันมันจะมากขึ้นตามระยะที่เรากดขันในลงไป

                   เรื่องที่สองผมต้องขออธิบาย ว่าพื้นบ้านพักอาศัยปกติ ไม่ได้ออกแบบเพื่อป้องกันแรงดันน้ำ (แรงลอยตัว) ซึ่งมีลักษณะ ดันพื้นบ้านจากด้านล่าง ซึ่งมันกลับทางกับแรงปกติ (ปกติจะออกแบบไว้รับน้ำหนักสิ่งของเครื่องใช้ ผู้คน ซึ่งแรงจะกดลงที่พื้นจากด้านบน ตามแรงโน้มถ่วงของโลก) ดังนั้นพื้นบ้านที่ดูแข็งแรงของท่าน จะแตกร้าวเสียหายได้ง่ายมาก ๆ จากแรงลอยตัว (เรื่องการวิเคราะห์โครงสร้าง นี้วิศวกรโครงสร้างสามารถคำนวณได้ครับ ผมจึงทราบได้ว่าพังง่ายเอามาก ๆ)

หลังจากพอเข้าใจเรื่องแรงลอยตัวและ การออกแบบพื้นบ้านโดยปกติแล้ว ผมก็จะมีคำแนะนำดังต่อไปนี้ครับ

  
รูปแรก และสอง ครับ เป็นกรณีที่น้ำ ท่วมไม่มาก ไม่สูง การก่ออิฐบล็อกในระดับ ไม่เกิน 2 ก้อน (ระดับความสูงของน้ำไม่เกิน 40 ซม. การป้องกันน้ำในระดับนี้ ไม่น่าจะมีปัญหาครับ ถึงแม้ว่าจะมีแรงดันน้ำ(แรงลอยตัว) แต่แรงนี้ก็ยังไม่มากพอที่จะทำลายพื้นบ้านได้ เนื่องจาก มีน้ำหนักของตัวพื้นคอนกรีตเองกดและดันน้ำอยู่ สบายใจได้ครับ ในรูปจะเป็นว่าใต้พื้นบ้านเองต้องรับกับแรงดันน้ำเท่ากับ ระดับน้ำภายนอกบ้าน ในรูปแสดงไว้ 30 ซม. (เท่ากับระดับน้ำภายนอก 30 ซม.) ระดับนี้ถึงว่า เป็นระดับไม่ต้องห่วงอะไร ไม่น่ามีการแตกของพื้นจากแรงลอยตัว ผมให้เรียกว่าระดับ Beginner
ต่

สำหรับรูปที่ 3  เป็นรูปที่ระดับน้ำภายนอกสูงขึ้นถึงระดับที่ต้องใช้อิฐบล็อกสูง 3-4 ก้อนครับ ในความสูงระดับนี้ (50-80 ซม.) แรงดันน้ำที่ดันขึ้น มีมากกว่าน้ำหนักของตัวพื้นคอนกรีตเอง ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดการแตกร้าวของพื้น และทำให้น้ำผุดขึ้นกลางพื้นบ้าน (น้ำพุ) อย่างไรก็ตาม  ในระดับน้ำขนาดนี้   ก็พอมีวิธีการลดความเสี่ยงของการแตกร้าวของพื้นจากแรงลอยตัวได้ครับ โดยทำตามรูปที่ 4

รูปที่ 4 เป็นการใส่น้ำหนักลงไปที่กลางพื้นบ้านนะครับ เพื่อให้แรงจากน้ำหนัก หักล้างกับแรงลอยตัว โดยวิธีวางน้ำหนัก ให้วางกลาง ๆ พื้นเข้าไว้ครับ ดังแสดงในรูปที่ 5 ในระดับนี้ผมตั้งชื่อให้ว่า ระดับ Intermediate

ในระดับต่อไป เป็นระดับที่กั้นน้ำอย่างเดียวมีโอกาสสูงมากๆ ที่จะมีการแตกของพื้นบ้านและมีน้ำพุส่วนตัว (รูปที่ 6) ผมให้ชื่อว่าระดับ Advance เนื่องจากไม่ง่ายนะครับที่จะทำ เนื่องจากต้องใช้เครื่องปั้มน้ำ คอยปิด-เปิด ปั้ม ดูการรั่วซึม ซึ่งเกิดได้ง่ายแล้ว  แต่อย่างไรก็ตามจะบอกว่าไม่มีวิธีป้องกัน น้ำในระดับที่สูง เป็นเมตร ก็คงไม่ได้  วิธีนี้ต้องใช้วิธีผสมผสานนะครับทั้งวิธีวางน้ำหนัก และ ลดแรงดันน้ำจะการปั้มน้ำ

ในระดับนี้การวางน้ำหนัก อาจเพียงพอ หรือไม่ก็ได้นะครับ ดังนั้นอาจต้องหาน้ำหนักมาเพิ่ม ซึ่งบ้านคนน้ำจะท่วม คงไม่หากันได้ง่าย ๆ เพราะต้องหาถึง 100 กก. ต่อ พื้นที่ของห้องนั้นๆ 1 ตารางเมตร ต่อความสูงของน้ำทุก ๆ 10 ซม. ที่ขึ้นเกิน 50 ซม.มาแล้ว ดังแสดงในรูปที่ 7 ยกตัวอย่างนะครับ  สมมติว่า ห้องขนาด 3x3 ม. (9 ตร.ม.) น้ำด้านนอกสูง 60 ซม.  จะต้องใส่น้ำหนักประมาณ 100 x 9 x (60-50)/10 =900กก.  หาไม่ได้ง่าย ๆ แน่ครับ (จริงๆ ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำหนักเท่านี้ครับน้อยกว่านี้ก็ได้) แต่วิธีนี้ก็เป็นปัญหาอยู่ดี ถ้าน้ำลด ไม่มีแรงดันน้ำ ต้องรีบมาเอาน้ำหนักที่มาวางไว้ออกอีก เพราะจะน้ำหนักเกินเวลาน้ำลดนะครับ (ยุ่งจริง ไม่รู้จะทำได้จริงไหม??)


วิธีที่ได้ผลจริง ๆ จึงต้องเป็นวิธี กั้นน้ำบริเวณรั้ว แล้วสูบน้ำออก  เพื่อลดแรงดันน้ำครับ ดังแสดงในรูปที่ 8   วิธีนี้จึงจำกัด ทำได้เฉพาะบ้านที่มีบริเวณรอบบ้านทุกด้านเท่านั้น การสูบน้ำออก จะทำให้แรงดันน้ำลดลงครับ โดยน้ำร่องน้ำเล็ก ๆ และมีความลาดเอียงเข้าหาหลุม ที่เราเตรียมได้สูบน้ำออกครับ วิธีนี้ไม่ง่าย เลย อย่างไรก็ตาม หากบ้านของท่านมีรั้วที่มั่นคง น้ำไม่ซึมเข้า มีท่อระบายรอบ ๆ บริเวณบ้าน วิธีนี้ก็เหมาะครับ หากท่าน ทำการอุดท่อระบายน้ำ ระหว่างด้านในรั้วและนอกรั้วไม่ให้น้ำผ่านได้ มีเวลาปิด-เปิด ปั้มน้ำ (หรือใช้ระบบลูกลอย)   วิธีนี้สามารถใช้ได้ดีนะครับสำหรับการทำทั้งหมู่บ้าน และสำหรับบ้านเดี่ยว แต่ บ้านเดี่ยวหลังเดียวทำได้ก็จริง แต่เหนื่อยครับ



 สรุปก็คือ
A - สำหรับกรณีที่จะกั้นน้ำที่ง่ายที่สุด ผมขอแนะนำให้กั้นน้ำ โดยใช้ความสูงเท่ากับ อิฐบล็อก 2 ก้อน (20 x 2 = 40ซม.) อาจเป็นที่บริเวณ หน้าประตูบ้าน ก็เพียงพอแล้ว หากน้ำภายนอก สูงเกิน 40 ซม. ก็ให้ยอมรับและ ยอมให้น้ำไหลท่วมภายในบ้าน       เนื่องจากด้วยความสูงของน้ำระดับ 40 ซม.นี้ พื้นบ้านของท่านควรจะรับแรงดันน้ำนี้ได้ ไม่แตกร้าว    แต่หากท่านกั้นน้ำโดยก่ออิฐบล็อกเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ พื้นบ้านก็แตก น้ำก็ผุด เนื่องจากทนแรงดันน้ำไม่ได้ ผลที่ได้รับ ก็คือ น้ำก็ท่วม ยังไม่พอ พื้นบ้านยังแตกเสียหายเพิ่มอีกด้วย

B - สำหรับกรณีต่อไป สำหรับท่านที่รับความเสี่ยงได้มากขึ้น  ความเสี่ยงนั้นก็คือ การแตกร้าวของพื้นบ้าน และน้ำอาจผุดขึ้นกลางบ้าน (น้ำพุ) ในกรณีนี้ ก็เป็นระดับที่ ก่อ กำแพงกั้นน้ำ ที่ระดับความสูงของอิฐบล็อก 3 - 4 ก้อน ด้วยความสูงในระดับ 60 - 80 ซม. นี้ จากการคำนวณโครงสร้างพบว่ามีความเสี่ยงที่จะ เกิดการแตกร้าวของพื้นบ้าน และน้ำจะผุดขึ้นในบ้าน ซึ่งในบ้านของแต่ละท่าน อาจมีความทนทานได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ การก่อสร้างและคุณภาพของคอนกรีต อย่างไรก็ตาม หากต้องการที่จะกั้นน้ำในระดับความสูง 60 - 80 ซม. มีวิธีที่ลดความเสี่ยงในการแตกร้าวของพื้นบ้านได้ โดย น้ำสิ่งของที่มีน้ำหนัก มาวางไว้ ในตำแหน่งกึงกลางของแผ่นพื้น เพื่อกดพื้นบ้านให้แอ่นตัวลงไปด้านล่าง เพื่อต้านกับแรงลอยตัวจากน้ำที่ดันพื้นให้แอ่นขึ้นมา

C - สำหรับกรณีที่น้ำภายนอกบ้านสูงมากกว่าพื้นบ้าน มากกว่า 80 ซม. แล้ว (ในการก่ออิฐบล็อก ที่ความสูงมากกว่า 4 ก้อน เป็นต้นไป) ในกรณีนี้ มีความเสี่ยงสูงมาก ๆ ที่ พื้นของบ้านพักอาศัย จะแตกร้าว และมีน้ำผุดขึ้นมา ค่อนข้างแน่นอน ในกรณีนี้ ไม่ใช่ว่าจะไม่มีวิธีที่ป้องกันได้ แต่วิธีการป้องกัน ออกจะยุ่งยากพอสมควร คือ
- ใช้การวางน้ำหนักต่าง ๆ ลงที่พื้น เพื่อดันพื้นให้แอ่นลงด้านล่างตามแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อหักล้างกับแรงดันน้ำ(แรงลอยตัว) ซึ่งดันขึ้นด้านบน เหมือน กรณี 40 - 60 ซม. (กรณี B)

- ใช้การขุดร่องน้ำ รอบ ๆ บ้าน พร้อมทั้งมีเครื่องสูบน้ำออกไปภายนอกรั้ว และกั้น แนวกันน้ำบริเวณรั้ว (ใช้ได้เฉพาะกรณีบ้านเดียว เท่านั้น ทาวเฮ้าส์ ใช้ไม่ได้เนื่องจากไม่มีพื้นที่สนามรอบบ้าน)  ด้วยวิธีนี้จะทำให้แรงดันน้ำบริเวณใต้พื้นบ้านลดลงได้ และเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับหมู่บ้าน มากกว่าบ้านเดียวๆคนเดียวทำครับ

สรุปอีกที "ก่ออิฐสูง ๆ ไว้ เวลาน้ำมาจริงๆ น้ำมาสูง จริง ๆ น้ำไม่อาจเข้าบ้านตรงที่ก่ออิฐกันไว้อย่างดี แต่จะดันพื้นบ้านแตกจากด้านล่าง แล้วน้ำจะเข้ามาในบ้าน แบบน้ำพุส่วนตัวเลยครับ"



เพิ่มเติมนะครับเป็นคำถามจากเพื่อน ๆ คนรู้จัก Q&A
Q โดยน้องโสม: ไม่ได้ใช้อิฐบล็อกกั้นน้ำ  ใช้กระสอบทราย จะดีกว่าไหม?
A โดยศุภชัย: จะใช้วัสดุใด ๆ ก็ตาม กระสอบทราย อิฐ ฯลฯ ที่กั้นน้ำได้ ก็ทำให้แรงดันน้ำเกิดทุกกรณีครับ หมายความว่า ถ้ากั้นน้ำได้ แรงดันก็จะเกิดตามระดับน้ำที่เราไปกั้นไว้ครับ

โดย ศุภชัย สินถาวร

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พื้นบ้าน กับแรงดันน้ำ ภาคต่อ (วิเคราะห์โครงสร้าง ละเอียดขึ้น)



(แบบ S-0, S-1, S-2, S-3 คัดลอกมาจาก แบบบ้าน โครงการแบบอาคารเพื่อประชาชน กรมโยธาธิการและผังเมือง)   แบบที่เห็นเป็นแบบพื้นบ้าน ทั้งแบบทางเดียว และสองทาง (one-way & two-way slab) ซึ่งบ้านพักอาศัย ทั่วๆ ไป จะเสริมเหล็ก เหมือนหรือคล้าย ๆ กันกับแบบนี้นะครับ
          สำหรับบทความนี้ จะเป็นการวิเคราะห์ โครงสร้าง ของแผ่นพื้นก่อน และจึงสรุปรวมเมื่อรับแรงลอยตัว จากกรณีน้ำท่วม ตามระดับความสูงต่าง ๆ ที่ใช้กับ S-1, S-2, S-3 

โดยมีสมมติฐาน
 1.เหล็กเสริมมีกำลังเท่ากับ 4000 ksc (เป็นค่าจากความเห็นของผู้เขียน โดยมีที่มาจากเหล็กเสริมซึ่งมาทดสอบกับทางภาควิชาฯ) และ
 2.คอนกรีต มีกำลังเท่ากับ 210 ksc โดยจะไม่ใช้การลดกำลังเลย(ไม่คิดการล้า คิดว่าคงเกิดการรับแรงนี้ไม่นาน) 
จาก สมมติฐานข้อ 1 และ 2 ได้  n = 9, j = 0.893 R = 30.089 ksc เมื่อคอนกรีตรับแรงอัด รับแรงในทิศทางปกติ พื้นนี้รับแรงดัดได้ถึง 1690 กก.-ม. (กรณีมีเหล็กเสริมตามรูปด้านบน และเหล็กเสริมจะรับแรงดึง)
      แต่ถ้าเกิดน้ำท่วม แรงดันน้ำดันขึ้นจากใต้พื้น พุ่งสู่ด้านบน ในส่วนของเนื้อคอนกรีตจะ เปลี่ยนเป็นรับแรงดึง และเหล็กเสริมจะรับแรงอัด ซึ่งตรงกันข้ามกับกรณีปกติ ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยน ดังแสดงในรูปด้านล่าง
รูป จากหนังสือ "รายละเอียดเหล็กเสริมงานคอนกรีต" โดย ประสงค์ ธาราไชย และคณะ


 
 - ลองให้คอนกรีตสามารถรับแรงดึงได้ 10% (ปกติค่าไม่ค่อยจะแน่นอนอาจมีค่าตั้งแต่ 5-12% ของกำลังอัด) คือ ประมาณ 21 ksc ใช้วิธีหน้าตัดแปลง(ปรากฏว่าเหล็กเสริมน้อยจนไม่มีนัยสำคัญ) จาก stress=Mc/I จะทำให้พื้นหนา 10 cm. รับโมเมนต์ดัดได้ 350 กก.-ม. (น้อยมากๆ เทียบกับการรับแรงปกติ 1690 กก.-ม.)  รับแรงเฉือนทะลุได้ 7.68 ksc (กก ต่อ ตร.ซม.)
จากค่าโมเมนต์ดัด 350 กก.-ม และแรงเฉือนทะลุ 7.68 ksc เราลองมาดู พื้นบ้านขนาด 3x3 เมตร เป็นตัวอย่างนะครับ
กรณี น้ำสูง 1 ฟุต (30 cm) ความลึกของน้ำเท่ากับ30+10 cm แรงดันน้ำจะเท่ากับ 400 กก ต่อ ตร.ม. แรงกระทำต่อพื้นบ้าน (โล่ง ๆ ไม่มีของ) เท่ากับ 400-240 =160 กก ต่อ ตร.ม.จะเกิด
 -โมเมนต์ดัด เท่ากับ cws^2 =0.05 x 160 x 3^2 = 72  กก.-ม น้อยกว่า 350  ไม่พังครับ
 -แรงเฉือนทะลุ เท่ากับ  =160 x 3^2 = 1440 กก. แต่พื้นรับได้มากๆ เทียบกันไม่ได้   ไม่พัง
สรุปไม่พัง

กรณี น้ำสูง ครึ่งเมตร   (50 cm)
แรงกระทำต่อพื้นบ้าน (โล่ง ๆ ไม่มีของ) เท่ากับ 600-240 =360 กก ต่อ ตร.ม.จะเกิด
 -โมเมนต์ดัด เท่ากับ cws^2 =0.05 x 360 x 3^2 = 162  กก.-ม น้อยกว่า 350  ไม่พังครับ ถ้าเป็นไปตามสมมุติฐานว่าคอนกรีตมีกำลังดี แต่หาก เป็นการก่อสร้างซึ่งไม่ได้ใช้คอนกรีตที่ดี อาจทำให้การรับแรงดึงของคอนกรีตได้ประมาณ 10 ksc ก็เป็นได้  หากเป็นเช่นนั้น พื้นบ้านก็จะเริ่มแตกแล้วครับ ดังนั้นในกรณี นี้ ถ้าต้องการสู้กับแรงดันน้ำต่อ แนะนำให้ใส่น้ำหนักที่แนะนำในบทความก่อนหน้า

กรณี น้ำสูง 1 เมตร   (100 cm)
แรงกระทำต่อพื้นบ้าน (โล่ง ๆ ไม่มีของ) เท่ากับ 1100-240 =860 กก ต่อ ตร.ม.จะเกิด
 -โมเมนต์ดัด เท่ากับ cws^2 =0.05 x 860 x 3^2 = 387  กก.-ม มากกว่า 350  พังครับ ถ้าต้องการสู้กับแรงดันน้ำต่อ แนะนำให้สำหรับผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ทั้งใส่น้ำหนักที่แนะนำในบทความก่อนหน้า ทั้งดูน้ำรั่วจากจุดที่เป็นไปได้ ปลั้ก กำแพง ฯลฯ



          หากใครมีพื้นแบบ S-0 (slab on ground) สบายใจได้ครับพื้นของท่านไม่ได้อยู่ติดกับโครงสร้างเสา คาน สู้ ไปเลยครับเต็มที่ แต่น้ำจะรั่ว ตามรอยต่อระหว่างพื้นกับผนังครับ ส่วนใหญ่พื้นแบบนี้จะเป็นพื้นของโรงรถ หรือชั้นล่างของตึกแถว (ไม่แน่เสมอไปนะครับ) สังเกตได้จาก พื้นแบบ วางบนพื้น จะมีการทรุดตัว แตก แต่ส่วนอื่นๆ ไม่ได้ทรุดตามนะครับ


สำหรับผู้อ่าน ที่ต้องการแลกเปลี่ยน หรือแนะนำผมยินดีนะครับ

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แรงดันน้ำ ใต้ดิน กรณีปกติ กรณีน้ำท่วม

            บทความนี้เขียนเพื่ออธิบายหลักการของแรงดันน้ำ ในกรณีที่เพื่อนๆ ของผมได้คุยกันในช่วงน้ำท่วม ผมจะกล่าวถึงทฤษฏีปกติที่วิศวกรรมโยธาต้องเรียนเพื่อให้เข้าใจเรื่องแรง และพฤติกรรมของแรงดันน้ำในกรณีต่าง ๆ ที่เพื่อน ๆ ประยุกต์ใช้กันครับ
            1.    กรณีที่บ้านของเรามีน้ำท่วมอยู่โดยรอบ แต่น้ำไม่ได้เข้าไปในตัวบ้าน ทำให้ทุกช่องที่น้ำจะดันเข้ามาได้ ก็จะซึม หรือพุ่งออกมา เช่น ท่อระบายน้ำในห้องน้ำ
            -     มีเพื่อนคนหนึ่งถามถึง การที่เราจะนำท่อ pvc หรือ ท่ออื่นๆ ไปสวมที่ท่อระบายน้ำ   น้ำจะสูงขึ้นมาในท่อ จนเท่ากับระดับน้ำรอบๆบ้าน   ด้วยวิธีนี้จะสามารถ ทำให้น้ำไม่สามารถไหลเข้าบ้านได้ แต่.......  วิธีนี้ไม่สามารถลดแรงดันน้ำได้นะครับ  แรงดันน้ำที่อยู่ใต้พื้นบ้านของเรา ยังคงเท่าเดิม
            -     แล้วแรงดันใต้พื้นบ้านมันเท่าไหร่หล่ะ?     ตอบ   มันก็เท่ากับ  ความสูงของน้ำ x ความหนาแน่นของน้ำ = แรงลอยตัว (สมมติ ปกติพื้นบ้านหนา 10 ซม. น้ำด้านนอกสูงกว่าพื้นบ้าน 30 ซม.  รวมเป็นความสูงน้ำ 40 ซม.  ก็จะมีแรงลอยตัวเท่ากับ 400 กก ต่อ ตารางเมตร)  
            -     อ้าว  แล้วพื้นบ้านจะพังไหม? ถ้าสมมติว่าพื้นแข็งแรงปกติ ไม่มีจุดรั่วของน้ำ  พื้นบ้านคนปกติ หนาประมาณ 10 ซม.  จะหนักประมาณ 240 กก ต่อ ตารางเมตร ดังนั้น จะมีน้ำหนัก ดันพื้นในทิศขึ้นฟ้า อยู่อีก 400-240 = 160 กก ต่อ ตารางเมตร ด้วยแรงระดับนี้ ก็น่าเป็นห่วงพื้นบ้านอยู่เหมือนกัน ถ้าพื้นบ้านเสริมเหล็กบน เหมือนๆ เท่าๆ กับเหล็กล่าง ก็น่าจะไม่มีปัญหา เนื่องจากโมเมนต์ลบกลับด้าน ถ้าเท่าๆ กับการใช้งานปกติ น่าจะทำให้รับได้ประมาณ 240+150=390 กก ต่อ ตารางเมตร    ถ้าตามสมมติฐานนี้ บ้านเพื่อน ๆจะ รับน้ำในระดับความสูงจากพื้นบ้านได้ประมาณ 53 ซม เท่านั้นนะครับ
            -     แล้วถ้าน้ำด้านนอกสูงเกิน 50 ซม จะทำไง?   เนื่องจากเรากันน้ำไว้ได้อยู่  แต่พื้นจะเริ่มมีปัญหาแล้ว แนะนำให้เอาของต่างๆ ที่มีน้ำหนัก มาวางไว้กลางพื้นบ้าน โดยให้คิดว่า น้ำที่สูงขึ้นมาทุก ๆ 10 ซม. ที่เลยจาก 50 ซม.แรกแล้ว  จะทำให้มีแรงดันเพิ่ม 100 กก.ต่อ ตร.ม.  เพื่อน ๆก็ดูพื้นที่ในบ้าน แล้วคูณด้วย 100 กก. ทุก 10 ซม. จาก 50 ซม.แรก ที่ยังไม่ต้องใส่น้ำหนัก
            -     จริง ก่อนที่น้ำจะสูง ย้ายปลั้ก ย้ายของก่อนนะครับแล้วอยากสู้ก็ตามนี้     แต่ถ้าน้ำสูงเลย    50 ซม.จากพื้นบ้านด้านนอกแล้ว และไม่มีน้ำหนักจะวางที่พื้นบ้านแล้ว  ให้เลิกทำได้เลยครับปล่อยให้น้ำเข้ามาเถอะ ไม่คุ้มแล้วครับ   (เดี๋ยวพื้นแตกจากแรงลอยตัว หรือมีน้ำพุขึ้นกลางบ้าน ต้องมาซ่อมกันทีหลังน้ำลดอีก)
            -       แต่ถ้าใคร อยากสู้ต่อ  ก็มีวิธีลดแรงดันน้ำ โดยใช้เขื่อน(อาจเป็นรั้วบ้าน) และเครื่องสูบน้ำ แล้วทำตามรูปเลย (ผมคัดลอกรูปจาก http://www.sanfrancisquito.org/watershed/threats/flows/index.htm ขี้เกียจจะวาดครับ  เอารูปของคนอื่นไปดูแทนครับ)  หลักการคือ  กั้นเขื่อนรอบๆ บ้าน แล้ว  ทำคลองรอบๆ เขื่อน หรือ บ่อน้ำ รอบๆ บ้าน แล้วสูบน้ำออก    ทำแบบนี้  แรงดันน้ำจะลดลงครับ  เคยทำที่บ้านตัวเองแล้ว แต่ไม่อยากจ่ายค่าไฟ ก็เลยเลิก หลักการนี้เหมือนสนามบินสุวรรณภูมิมั้ยล่ะครับ  มีคันดินรอบ ต่อมาเป็นคลองรอบ การที่แรงดันน้ำใต้ดินจะทำให้สนามบินแตกร้าว ผมจึงคิดว่าเป็นไปยากมาก ๆ ที่น้ำจะท่วมสุวรรณภูมิครับ เพราะเค้าออกแบบรับมือกับเรื่องนี้ไว้ดีแล้ว

           -        รูปต่อไป เป็นการป้องกันระดับน้ำใต้ดิน อย่างดี สำหรับผุ้มีทุนถึง (ผมคัดลอกมาจาก http://hostedweb.cfaes.ohio-state.edu/usdasdru/WRSIS/watertablemgtoptions.htm ) จริง ๆ ท่อที่เห็น ก็ใช้กับระบบร่องสวนก็ได้นะครับ  วิธีนี้ไม่ได้แนะนำให้คนปกติทำนะครับ เพราะมันเหมาะกับสถานที่สำคัญและเงินถึง (555 หมู่บ้านของผมก็ทำวิธีนี้ ขนาดเงินไม่ค่อยจะถึงชึ่นชมจริงๆ)  ด้านนอกหมู่บ้านน้ำท่วมสูงเป็นเมตร ในบ้านยังใช้ส้วมได้ กดน้ำยังลงอยู่เลย       อธิบายเรื่องในหมู่บ้าน มีระบบคลอง และระบบน้ำเสีย   หัวหน้าหมู่บ้านก็สูบน้ำจากระบบน้ำเสียออกไปนอกคันกันน้ำหมู่บ้าน (หมู่บ้านเก่งสุดยอด แต่ตัวผมออกนอกหมู่บ้านเป็นเดือนแล้ว เพราะปอดแหกกลัวเขื่อนคันดินพัง)
          -         เรื่องคันดิน กระสอบทราย   มันจะอยู่ทนหรือเปล่า จริงๆ พวกเราวิศวกรโยธาได้เรียนแล้วล่ะครับ ดินเหนียวกันน้ำได้   ทรายกันน้ำไม่ได้    ทรายใส่กระสอบกันน้ำได้ น้ำหนักดี  ดินเหนียวโดนน้ำนานๆ ก็เสียวอยู่   ส่วนกระสอบทรายถ้ากระสอบไม่ดีมันอาจจะเปื่อยและพังในที่สุด ทรายมันก็จะไหลไปตามน้ำ ถ้าจะให้แนะนำในเรื่องการทำคันดินต้องวิเคราะห์เสถียรภาพของคันดินก่อน    เอาเป็นว่าเพื่อนๆครับ slope ของคันดินต้องไม่น้อยกว่า 1:1 นะครับ แต่มีหลายคนแนะนำ 1:3 (เช่น สูง 1 ม. ฐานกว้าง 3 ม.) แล้วจะไปหาดินมาพอไหม  ถ้าหาได้ก็ทำไป  หาไม่ได้ก็ 1:1 ครับ

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

rebound hammer

http://eng.swu.ac.th/research/articles/54_02/No.6.pdf





เป็นบทความที่เขียนขึ้นสำหรับ ผู้ที่เคยใช้เครื่องมือ rebound hammer แล้ว หรือผู้ที่อยากจะศึกษา