หลักการทำฝายชะลอน้ำ (หรือที่เคยเรียกว่าฝายแม้ว)
คำอธิบายเพิ่มเติม ขนาดของฝายชะลอน้ำ เป็นฝายเล็กๆ ที่ว่าฝายมันเล็ก ก็คือเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำแล้ว อย่างไรเสียน้ำก็จะข้ามฝายอยู่ดี ดังนั้นในการสร้างต้องประเมินปริมาณน้ำ อัตราการไหลของน้ำ และขนาดฝายก่อนครับ อาจกะ ๆ เอา หรือ คำนวณก็ได้ครับ แล้วแต่ความยากง่าย
ขอบคุณรูปจาก facebook.com/mycomicbook
-ฝายชะลอน้ำสร้างที่ไหน?
ก็สร้างขวางทางน้ำไว้ครับ เช่น ร่องน้ำครับ หรือพูดง่าย ๆ ว่า น้ำอยากไหลไปทางไหน เราก็ไปกั้นไว้ครับ และจะกั้นเป็นระยะ ๆ
-เรียกฝายชะลอน้ำ ก็แปลว่ากั้นน้ำไม่ได้ใช่ไหม?
ก็ทำนองนั้นครับ ทำได้เพียงชะลอ ในที่สุดน้ำก็ต้องไปทิศทางที่ต่ำเสมอ แต่จะช้าหน่อย แล้วก็ระยะเวลาจากต้นน้ำถึงทะเล แม่น้ำ ก็จะช้า
-แล้วจะทำไปทำไม?
ก็ทำเพื่อให้น้ำขณะที่น้อยอยู่ ไม่ข้ามฝายไป แต่จะเอ่อท่วม กระจายไปทางด้านเหนือฝาย ให้ได้รับความชุ่มฉ่ำไปทั่ว
-แล้วทำไม่ต้องสร้างฝายเป็นระยะ ๆ ตามทางน้ำ?
ก็ทำเพื่อให้ได้รับความชุ่มฉ่ำไปทั่ว ๆ หลักจากฝายแรกน้ำข้ามได้แล้ว ก็จะมาถึงหน้าที่ฝายที่สอง เหนือฝายที่สอง น้ำก็จะแผ่ไป ให้ได้รับความชุ่มฉ่ำต่อไป และ ฝายที่สามก็จะทำหน้าที่ลักษณะนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะออกทะเล สู่ลำคลอง
-ฝายชะลอน้ำ เค้าต้องมีชื่อเหมือนเขื่อนไหม?
ปกติผมก็ไม่ค่อยจะเห็นมีชื่อฝายชะลอน้ำนะครับเพราะมันก็เป็นฝายเล็ก ๆ แต่ถ้ามันใหญ่ ๆ และสำคัญสักหน่อย ผมก็ชอบที่จะตั้งชื่อ เช่น ฝายแรกอาจชื่อพะหลโยทิน, ฝายที่สอง ชื่อ ละพีพัด, ฝายที่สามชื่อ รังสิตประยูร, ฝายที่สี่ชื่อ หกว้า, ฝายที่ห้า เออไม่รู้จะตั้งชื่ออะไรดีครับ แต่ที่จริงก็ยังมีชื่อที่ชอบๆ อยู่ ก็ มหาสะวัด, ทวีวัด ฯลฯ พอดีกว่าครับ ให้คนอื่นมาช่วยกันตั้งชื่อบ้างครับ ไร้สาระ แต่ก็สนุกดี
-ใช้วัสดุอะไรสร้าง?
ก็อาจเป็นอะไรก็ได้ครับที่มี เช่น คอนกรีต คันดิน หิน กระสอบทราย ไม้ไผ่ ฯลฯ ก็แล้วแต่ว่าต้องการความทนทานขนาดไหน เพราะต้องการให้น้ำผ่านได้อยู่แล้ว
-ฝายชะลอน้ำมีประโยชน์ อย่างไร?
ก็ทำให้น้ำไหลได้ช้า พื้นที่ได้รับความชุ่มฉ่ำกันทั่ว ๆ เหมาะสมมากๆ ครับสำหรับพื้นที่ ที่ต้องการแบ่งปันความชุ่มฉ่ำ
-ถ้าไม่มีฝายชะลอน้ำจะเป็นอย่างไร?
น้ำก็จะรีบ ๆ ไหลลงสู่ที่ต่ำ ถ้ามีน้ำน้อย น้ำก็จะอยู่แค่ในลำน้ำ ถ้ามีน้ำมาก น้ำก็จะแผ่ขยายออกมารอบ ๆ ลำน้ำและที่ต่ำ แต่อย่างไรก็ตามการแผ่ ก็คงจะสู้มีฝายชะลอน้ำไม่ได้
-ถ้าเคยมีฝายชะลอน้ำ แล้วพังเวลาน้ำมา มากๆ จะเป็นอย่างไร?
ตอนแรกที่ฝายยังไม่พัง น้ำก็จะช่วย ๆ แผ่ ไปทางข้าง ด้านเหนือฝาย และเพิ่มระดับน้ำ(ทดระดับน้ำให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ) ไปพร้อม ๆ กัน หากน้ำมา มากจนฝายทนไม่ไหว ฝายก็พัง น้ำที่ไหลลงสู่ใต้ฝาย ก็จะแรงกว่า ที่จะปล่อยให้ไหลแบบไม่มีฝายเสียอีก
-ถ้าปีนั้น ๆ หรือขณะนั้น มีความชุ่มฉ่ำแล้ว ไม่อยากให้ฝายกระจายความชุ่มฉ่ำ ต้องทำอย่างไร?
ก็อย่าทำฝายสิครับ ถ้ามีฝายอยู่ ก็เปิดมันออก น้องน้ำจะได้ไปเร็ว ๆ
-ฝายชะลอน้ำ กับ แนวกระสอบทรายและประตูน้ำ เหมือนกันไหมครับ????
ไม่ขอตอบครับ !!! ไม่มีความรู้ด้านนี้โดยตรงจริง ๆ ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น